วิตามินสร้างเกราะคุ้มกันสู้กับฝุ่น PM2.5
ช่วงนี้สภาพอากาศในประเทศไทยไม่ใช่แค่ในกรุงเทพเท่านั้น สามารถพบเจอสภาพอากาศเช่นนี้ในเมืองใหญ่ๆด้วยเช่นเดียวกัน เกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้ป้องกันฝุ่นละออง การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ สาเหตุลักของการเกิดมลภาวะในประเทศไทยคือการการเผาวัชพืชในที่โล่ง รวมถึงการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศซึ่งก๊าซเหล่านี้เป็นสารพิษที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ มลภาวะเล็กๆเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก คือ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือที่เรียกว่า PM(Particular Matter)2.5 ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เมื่อมีการหายใจในบริเวณที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไปในร่างกาย อนุภาคเหล่านี้สามารถผ่านจมูกและปาก เข้าไปถึงถุงลมในปอดได้นอกจากนี้ยังสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย หากได้รับอนุภาคเล็กๆเหล่านี้สามารถส่งผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย ได้แก่
- ระบบทางเดินหายใจ โดยอนุภาคจะไปกระตุ้นให้เซลล์ปอดสร้างอนุมูลอิสระเกิดการระคายเคืองและสามารถก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจได้จะ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง การแลกเปลี่ยนอากาศทำได้น้อยลง ส่งผลให้การหายใจสั้น หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดอาการไอ ไอเรื้อรัง เสมหะ หายใจลำบาก นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ในผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง จะมีผลกระทบมากขึ้น ซึ่งหากได้รับอนุภาคเหล่านี้ในระยะเวลานานๆอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้
- ระบบหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าหากได้รับอนุภาคเล็กเหล่านี้ทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ และยังเพิ่มระดับไขมันในเลือดชนิด LDLและ Triglyceride และลดระดับไขมันในเลือดชนิด HDL ได้อีกด้วย การได้รับฝุ่นละอองในระยะเวลาสั้นเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงกว่าสาเหตุการเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจ โดยการเสียชีวิตมีสาเหตุจากภาวะหัวใจวายและหัวใจวายเฉียบพลัน ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Stroke) หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากได้รับอนุภาคเหล่านี้เป็นระยะเวลานานทำให้เพิ่มอัตราเสียงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้มีการศึกษาความสัมพันธ์ของมลภาวะกับอุณหภูมิสามารถทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการได้รับฝุ่นละอองทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เกิดภาวะอ้วนและมีผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย
ในหญิงตั้งครรภ์และเด็กควรหลีกเลี่ยงการได้รับฝุ่นละอองเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยอนุภาคเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางรกทำให้ทารกที่คลอดมามีน้ำหนักน้อยผิดปกติและมีผลต่อการพัฒนาสมองของทารกได้ จากการวิจัยพบว่าเด็กที่อยู่ในพื้นที่ของการกระจายของฝุ่นจะมีอัตราการขาดเรียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะความผิดปกติของปอด อาการหอบหืด อาจเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคมะเร็งในเด็กได้ และมีผลต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของเด็กที่อยู่พื้นที่เสี่ยงของการกระจายของฝุ่นละอองอีกด้วย
นอกจาก ยังมีอาหารที่ช่วยในการลดอนุมูลอิสระและลดการอักเสบได้ด้วย ได้แก่
- Vitamin A และอนุพันธุ์ของ Vitamin A มีบทบาทในการมองเห็น การเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบและช่วยในการลดอนุมูลอิสระของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งอนุภาคต่างๆจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อของระบบทางเดินหายใจและลดการเกิดอนุมูลอิสระต่างๆที่สามารถทำลายเซลล์ได้ Vitamin A พบได้ในผักผลไม้มีสี ผักใบเขียว นมและผลิตภัณฑ์จากนม ตับ ไข่
- Vitamin C และ Vitamin E พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระต่างๆจะมีส่วนช่วยในป้องกันเซลล์ถูกทำลาย เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยสามารถพบ Vitamin C ในอาหารประเภทผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขามป้อม ตรีผลา และพบ Vitamin E ในอาหารประเภทถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ น้ำมันพืช ผักใบเขียวบางชนิด เช่น ป๋วยเล้งและบร็อคโคลี
- Vitamin D ช่วยในการควบคุมความรุนแรงของการเกิดโรคหอบหืดได้ นอกจากนี้ Vitamin D ยังมีส่วนในการเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถพบ Vitamin D ได้ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วธัญพืชชนิดต่างๆ โดยทั่วไป Vitamin D ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากแสงแดด ในช่วงที่มีการกระจายของฝุ่นละอองควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้งสามารถรับประทาน Vitamin D เสริมจากอาหารทดแทนได้
- Vitamin B มีส่วนช่วยในการลดการเกิดความผิดปกติของ DNA ซึ่งเป็นผลจากการสูดละอองฝุ่นเข้าไป และป้องกันความรุนแรงของการสูดละอองฝุ่นเข้าไปในร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอีกด้วย
- N-acetyl cysteine ช่วยลดภาสะหลอดลมไวต่อสั่งกระตุ้นและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดย N-acetyl cysteine จะต้องการกรดอะมิโนซิสเตอินเพื่อช่วยในการสังเคราะห์ข้นมา อาหารที่มีกรดอะมิโนซิสเตอินประกอบ ได้แก่ แตงโม หอมใหญ่ ไข่ กระเทียม และเนื้อแดง นอกจากนี้ N-acetyl cysteine ยังมีส่วนช่วยในการลดเสมหะและมูกในปอด ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
- Omega-3 มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและต้านการแข็งตัวของเลือดจึงมีผลทำให้ช่วยลดการความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้และยังมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อและลดการอักเสบได้ด้วย นอกจากนี้ Omega-3 ช่วยลดการเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง นอกจากนี้ Omega-3 ที่ได้จากน้ำมันปลาแล้วยังสามารถได้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพจากอาโวคาโด ถั่วลิสงและธัญพืชต่างๆ รวมถึงปลาทะเลที่มีปริมาณไขมันสูง
- Curcumin เป็นสาระสำคัญที่ได้จากขมิ้น มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ ป้องกันการเกิดมะเร็งและต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่า Cuปrcumin ป้องกันการกระตุ้นของระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจซึ่งมีผลช่วยลดการเกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจได้
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพในช่วงนี้ ดังต่อไปนี้
การดูแลตนเอง
- ติดตามสถานการณ์มลพิษอยู่เสมอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และหลีกเลี่ยงสถานที่มีควันไฟหรือหมอกควัน
- รักษาความสะอาดโดยใช้น้ำสะอาดกลั้วคอ แล้วบ้วนทิ้งวันละ 3-4 ครั้ง
- งดเว้นการสูบบุหรี่ และงดกิจกรรมการเผาที่จะเพิ่มปัญหาควันมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งและการทำงานหนักที่ต้องออกแรงมากในบริเวณที่มีหมอกควัน
- กรณีที่จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น ควัน ควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและ และควรเปลี่ยนใหม่หากหน้ากากสกปรกหรือเริ่มรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวก
- หากสูดดมและอยู่ในบริเวณที่มีหมอกควัน เมื่อมีอาการผิดปกติของระบบหายใจและการมองเห็น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การดูแลคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
- ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและหมั่นสังเกตอาการผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ และโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หากพบอาการผิดปกติให้รีบนำตัวส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที
- ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และคนชรา ให้พักผ่อนอยู่ในบ้านรวมทั้งควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม
การดูแลที่อยู่อาศัย
- หากที่พักอาศัยไม่มีระบบระบายอากาศหรือระบบปรับอากาศ (คือการถ่ายเทอากาศ เข้า – ออก ในอาคาร) ต้องปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟหรือหมอกควันเข้ามาในอาคาร แต่หากมีระบบปรับอากาศหรือระบบกรองอากาศจากภายนอกเข้าสู่อาคารควรเปลี่ยนหรือหมั่นล้างระบบกรองอากาศเป็นประจำ
- การเปิดพัดลมในอาคารบ้านพัก ควรเป่าลงกระทบผิวน้ำก่อน จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศได้
การดูแลชุมชน
- ช่วยกันดูแล ไม่ให้เผาขยะ เศษใบไม้ กิ่งไม้ หญ้าทุกชนิด หรือสิ่งใดที่ทำให้เกิดควันไฟหรือหมอกควันมากยิ่งขึ้น
- ดับเครื่องยนต์ของยานพาหนะทุกชนิดทุกครั้งเมื่อจอด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะที่เป็นเครื่องยนต์หรือใช้ในกรณีจำเป็น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในลดมลพิษทางอากาศ
ดังนั้นในสถานการณ์ที่มลพิษในบ้านเราเป็นแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หากต้องทำงานหรือใช้ชีวิตกลางแจ้งควรใช้เครื่องมือป้องกันตัวเองจากมลพิษต่างๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถกรองอนุภาคที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เพื่อลดการสูดดมเอาฝุ่นละอองต่างๆเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ควรลดการเผาหญ้าหรือเผาขยะในที่โล่ง และเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อช่วยในการฟอกอากาศให้แก่เราคะ
Reference :
http://gic.anamai.moph.go.th/images/DOHL_PDF/Marta_9/9_8_2557/คำแนะนำในการปฏิบัติตัว.PDF
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2528642/
https://www.health.ny.gov/environmental/indoors/air/pmq_a.htm
https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4740125/